Asking good questions isn’t only about asking. It’s important to take the answers you get and apply them to your contemplation. If you ask a question and don’t get a workable answer, then try varying your technique. Don’t jump from one issue to another after receiving dead end answers. After a while of doing that, you will lose faith in your practice. Then you will end up seeking out a different practice. Until the day you die, you will never be able to rely on yourself. It must be because the suffering isn’t enough for you yet.
In this age of technology, each email or text doesn’t cost an envelope and a stamp anymore. But it costs time and effort for both parties. When asking a question, if you don’t follow through, are you being wasteful? I remember with LP Thoon, we would think about asking him a question and mull it over for a couple days. We imagined what he would say if we had asked him, and what our reply would be. Most times we wouldn’t end up calling him because we had figured out the answer on our own. In this way, we came to be self-reliant and our dhamma progressed. It’s not only the question that is important, but the process, too.
ถามคำถามให้เก่ง ไม่ใช่แค่ถามเป็น แต่ต้องเอาไปคิดต่อให้ต่อเนื่องในเรื่องที่ถาม แม้ว่าคำตอบจะยังไม่ออกมา ก็ให้ซอกแซกจนได้คำตอบออกมา ไม่ใช่ว่ากระโดดไปเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที แบบนั้นเรียกว่า จะไม่ได้รับผลของการปฏิบัติ ในที่สุดก็จะไม่ศรัทธาการปฏิบัติของตัวเอง แสาะแสวงหาวิธีอื่นอีกต่อไป จนวันตายก็เป็นที่พึ่งของตัวเองไม่ได้ สรุปแล้ว “ทุกข์” ยังไม่พอนั้นเอง
ในยุคสมัยนี้ จะอีเมลหรือเทคซ์หากัน ไม่ต้องคำนึงถึงค่าซองหรือแสตมพ์ แต่ยังมีค่าของเวลาและแรงงานของผู้ถามและผู้ตอบ ถ้าถามคำถามแล้วไม่คิดต่อ มันจะเรียกว่าเป็นการสูญเสียได้ไหม จำได้ว่าสมัยหลวงพ่อทูล ถ้าเรามีคำถามที่อยากจะโทรถามท่าน เราจะคิดดูก่อนว่าคำถามที่จะถามคืออะไร จะถามแบบไหน ท่านจะตอบแบบไหน แล้วเราจะตอบท่านอย่างไง ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้โทรถามด้วยซ้ำ เพราะเราคิดคำถามคำตอบออกเองหมดแล้ว ทำแบบนี้บ่อยๆ ก็กลายเป็นนักปฏิบัติที่พึ่งตัวเองได้ และธรรมะของเราก็จะก้าวหน้า ไม่ใช่แค่คำถามที่สำคัญ แต่วิธีการก็สำคัญมากเหมือนกัน
No Comments