Mae Yo is a strong and prominent figure in Venerable Acariya Thoon Khippapanyo’s following. As one of the most senior western disciples of Acariya Thoon, Mae Yo collaborated with Mae Toi in founding KPY in one of Mae Yo’s properties in South San Francisco in 1998. In 2000, the pair took KPY 130 miles north to Redwood Valley, CA. Along with twelve devout followers in the KPY organization, they purchased 235 acres of land, including two mountaintops, where KPY is established today.
Mae Yo was the instrumental in executing the establishment of both KPY and Wat San Fran Dhammaram. Her contributions, both financially as well as in dhamma, are immeasurable. She leads the wave in proliferating dhamma in San Francisco and the rest of America.
Mae Yo is skilled in clarifying dhamma sermons that are incomprehensible to others. She is also proficient in extracting and illuminating the truth seemingly hidden in our hearts.
Prior to becoming a nun, Mae Yo found success in a wide variety of occupations. From travel agent to insurance agent, property investment, to data control, and donut shop owner to restaurateur, Mae Yo wore many hats. With her MBA and keen wisdom, she easily ascended to heights in each career.
As Mae Yo met Acariya Thoon in 1996 and practiced his methods of developing the right perception, she experienced a crucial paradigm shift when she realized that she could never change a duck into a chicken. Today, she shares this truth with people around the globe.
เริ่มปฏิบัติธรรมเพราะมีทุกข์แสนสาหัสในชีวิตครอบครัว ปี 1998 ได้ไปอบรมธรรมกับหลวงพ่อทูล ได้ฟังธรรมของหลวงพ่อ ท่านเน้นเรื่องตนและของ ๆ ตน วัตถุสมบัติ และที่สำคัีญคือ วิธีน้อมเข้ามาหาตัว(โอปนยิโก) ได้รับการช่วยเหลือจากแม่ชีต้อย (ขณะนั้นท่านยังไม่ได้บวช)ว่าเมื่อเห็นการกระทำคำพูดของบุคคลอื่นแล้วตำหนิ เมื่อได้ตำหนิแล้วก็ไม่ลืมที่จะเทียบเคียงเข้ามาหาการกระทำคำพูดของเราทันที ว่าเราเคยทำแบบนั้น ๆ หรือเปล่า ผลเป็นอย่างไร ทุกข์ไหม บัดนี้ คนอื่นได้มาเป็นกระจกเงาให้เราได้เห็นตัวเราเองแล้ว จะปรับปรุงแก้ไขอย่างไร การคิดแบบนี้เรียกว่า การฝึกปัญญา ซึ่งข้อมูลหาได้จากบุคคลทั่ว ๆ ไป จากสัตว์ สิ่งของ หรือแม้กระทั่งความฝัน ทุกอย่างจะนำมาเป็นอุบายสอนใจได้หมด โดยถือหลักว่าคิดอะไรก็ได้ ถ้าสอนใจคลายยึด ถือว่าถูกหมด และจะลืมไม่ได้ก็คือ คิดทุกครั้งต้องสรุปลงกฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง(เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป)
ทุกข์ อนัตตา ให้จิตมันเห็นว่า ที่คิด พูด ทำอยู่นั้นเป็นทุกข์ อนิจจัง อนัตตา จริง ๆ ได้ความรู้สึกจริง ๆ หลวงพ่อเน้นให้เริ่มที่วัตถุสมบัติหยาบ ๆ ก่อน คลายความยึดมั่นกับวัตถุรอบ ๆ ตัว เช่น บ้าน รถ เสื้อผ้า เครื่องแต่งตัว ฯลฯ ของพวกนี้ไม่เที่ยงอยู่อย่างไร ยึดมั่นไว้เป็นของของเราทุกข์แค่ไหน ประโยชน์ของสิ่งของพวกนี้จริง ๆ คือใช้ทำอะไร เราใช้เขาถูกจุดประสงค์หรือเปล่า มีไว้ครอบครองมากเกินต้องการหรือเปล่า ให้ค่ามันเกินไปจนต้องทำงานเป็นทาสเพื่อจะให้ได้มาซึ่งสิ่งของเหล่านั้นหรือ เปล่า เมื่อพิจารณาเป็นบ้างแล้วจิตจะค่อยเคลื่อนไปเอง รู้จักหาเหตุเมื่อทุกข์เกิด เช่น ไม่พอใจบุคคลข้างเคียงเรื่องการพับผ้า เราทำไว้เรียบร้อยแล้ว แต่เขาทำพังภายในวันเดียว เราไปโทษคนทำพังแล้วโกรธ(ทุกข์) เมื่อพิจารณาหาเหตุจึงเห็นว่า เราเห็นผิดในการพับผ้าว่า พับเสร็จแล้ว จะต้องเรียบร้อยตามที่เรายึดไว้ตลอดไป(ความเรียบร้อย”เที่ยง”) ไม่เข้าใจว่าโลกนี้เขามีมาเป็นคู่ ๆ มืดคู่กับสว่าง เย็นกับร้อน หญิงกับชาย กลางวันกับกลางคืน ถ้าเราจะเอาแต่เรียบร้อยโดยไม่ทำใจไว้ว่าเรียบร้อยก็ต้องมีพัง(คือไม่เรียบ ร้อย) เราก็ต้องทุกข์เพราะฝืนกฎของธรรมชาติ แสดงว่าทุกข์ครั้งนี้เพราะเราเห็นผิด ไม่ใช่เพราะใครอื่นเลย ถึงเขาไม่ทำผ้าพัง คนอื่นก็จะต้องทำ หรือคนอื่นไม่ทำ มันก็พังของมันเองได้ ต้องเผื่อใจไว้เพราะมันไม่เที่ยง นอกจากนี้ การคิดส่วนใหญ่ของข้าพเจ้าจะเน้นทีทุกข์ โทษ ภัย แล้วสรุปลงที่ปฏิเสธทุกครั้งไป เพื่อให้คลายยึดจริง ๆ จัง ๆ เพื่อที่จะไม่สร้างกรรม เบียดเบียน สร้างกรรมชั่วต่อตนและบุคคลอื่น ๆ ที่ใช้มากอีกอย่างก็คือ พูด คิด ทำ ให้ถูกสถานที่ ถูกเวลา ถูกบุคคล ถูกเรื่อง เพราะเห็นจริงตามความเป็นจริง ทำให้ชีวิตของข้าพเจ้าและครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ขึ้น
ข้าพเจ้า ขออนุญาตขอโอกาสกราบขอบพระคุณมายังหลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ ด้วยความเลื่อมใส ศรัทธายิ่งชีวิต และคุณแม่ชีต้อย สุภาพ พันธ์หงษ์ ด้วยความรักเคารพสุดหัวใจ ขอมอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จนกว่าชีวิตจะหาไม่